หน้าหลัก หนังและภาพยนต์

ชาร์ลี กับ โรงงานช็อกโกแลต

ชาร์ลี กับ โรงงานช็อกโกแลต

ชาร์ลี กับ โรงงานช็อกโกแลต

ชาร์ลี กับ โรงงานช็อกโกแลต

บอกได้เลยว่า ในแถบซีกโลกตะวันตกนั้น เรียกได้ว่าเด็กกับของหวานนั้น เป็นของคู่กัน เพราะยามที่ได้ลิ้มรสช็อกโกแลตอันหวานหอม นั่นคือช่วงเวลาแห่งความสุขของเด็กๆ

ในวันนี้จะพาทุกท่าน มาทำความรู้จักกับ ชาร์ลีกับโรงงานช็อกโกแลต เรียกได้ว่าเป็นหนังแนวที่แปลกใหม่ เด็กน้อย ‘ชาร์ลี’ ที่เกิดมาในครอบครัวบั๊กเก็ต อาศัยอยู่ในบ้านไม้โกโรโกโส มีอาหารประจำคือซุปใสๆที่ต้มกับผักกะหล่ำทุกมื้อนั้น ช็อกโกแลตกลับมิใช่ความสุขและความปรารถนาอันแท้จริง 

แม้ว่าทุกคืนชาร์ลีจะมองลอดหน้าต่างห้องนอนใต้หลังคา ดูโรงงานช็อกโกแลตขนาดใหญ่ในหมู่บ้าน และฝันว่าสักวันหนึ่งเขาจะได้เข้าไปเยือนโรงงานแห่งนี้ก็ตาม

แต่เรียกได้ว่า ปู่ของชาร์ลีนั้น เคยได้ผ่านการเป็นพนักงานอยู่ ในโรงงานแห่งนี้ ได้กล่าวว่า ‘วิลลี วองก้า’ เจ้าของ เป็นอัจฉริยะในการคิดค้นสูตรช็อกโกแลตที่มีรสชาติแปลกใหม่ไม่เหมือนใครออกมาอยู่ตลอดเวลา รสชาติอันแสนอร่อยของช็อกโกแลตวองก้าได้รับการต้อนรับจากบรรดาผู้นิยมชมชอบช็อกโกแล็ตทั่วโลก จนสามารถขยายเป็นโรงงานผลิตใหญ่โต 

หลังจากที่ได้มีการรั่วไหลของสูตรนั้น ไปผลิตแข่ง วิลลีจึงปิดโรงงาน และไม่เคยมีใครเห็นเขาอีกเลย รวมทั้งไม่เคยมีใครในหมู่บ้าน มีโอกาสเข้าไปทำงานที่นั่นอีก แต่ช็อกโกแลตวองก้าอันแสน อร่อยลิ้นก็ยังคงวางขายอยู่ในท้องตลาด เพราะวิลลีใช้ ‘อูมปา ลูมป้าส์’ ชาวป่าตัวเล็กๆนับพันมาผลิตช็อกโกแลตนั่นเอง

อยู่มาวันหนึ่งจู่ๆ ก็ได้มีการส่งบัตรเชิญไปยัง เด็กโชคดี 5 ที่สามารถพบบัตรทองคำได้ จากช็อคโกแลตของเขา ให้มาชมโรงงานอันสุดแสนมหัศจรรย์ของเขา และในจำนวน 5 คนนี้จะมีเพียงคน เดียวที่จะได้รับรางวัลชนะเลิศ

‘ออกัสตัส กรุ๊ป’ เด็กอ้วนที่เอาแต่กินช็อคโกแลต และปากไม่เคยว่างจากอาหารเลยตลอดวัน ตั้งหน้าตั้งตากินช็อกโกแลตวองก้าจนได้เป็นคนแรกที่เจอบัตรทอง คนต่อมาคือ ‘เวรูก้า ซอลท์’ เด็กสาวผมทองลูกสาวคนเดียวของมหาเศรษฐีที่เอาแต่ใจตัวเอง เพราะถูกตามใจจนเคยตัว 

ส่วนเด็กหญิง ‘ไอโอเล็ด โบรีการ์ต’ ผู้ถูกสอนให้เป็นคนเก่งที่ชอบเอาชนะ เป็นคนที่ 3 ที่เจอบัตรทอง และเธอตั้งเป้าหมายว่าจะต้องชนะในการทัวร์โรงงานช็อกโกแลตครั้งนี้ด้วย ส่วนคนที่ 4 เป็นเด็กสุดไฮเปอร์สติเฟื่อง ‘ไมค์ ทีวี’ ที่เล่นเกมทั้งวันจนกลายเป็นเด็กก้าวร้าว

บอกเลยว่าในระหว่างนั้นเอง ชาร์ลีที่ได้แต่ฝันว่าสักวันหนึ่ง อยากจะเข้าไปเยี่ยมชมโรงงานแห่งนี้ด้วย แต่เขามีโอกาสกินช็อกโกแลตเพียงปีละหนึ่งแท่งในวันเกิดเท่านั้น โอกาสพบบัตรทองจึงไกลเกินเอื้อม แต่ในที่สุด ชาร์ลีก็กลายเป็นเด็กโชคดีคนสุดท้าย เมื่อเขาเจอเงินที่ตกอยู่ข้างถนนและนำไปซื้อช็อกโกแลตวองก้าและเจอบัตรทองใบสุดท้าย ทุกคนในครอบครัวดีใจเมื่อรู้ว่าความฝันของชาร์ลีเป็นจริงแล้ว 

บอกได้เลยว่าเขานั้นก็ได้ชะงักไป เมื่อมีคนจะขอซื้อในราคาสูงถึง 500 ดอลลาร์ ทำให้ชาร์ลีตัดสินใจไม่ไป เพราะเขาอยากได้เงินนี้ไปช่วยเหลือครอบครัว ทั้งนี้ก็ด้วยความรักคนอื่นและปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขนั่นเอง จนคุณตาซึ่งรักและเข้าใจความฝันของหลาน ได้บอกว่า “ทุกๆวันจะมีคนพิมพ์เงินขึ้นมากมาย แค่เดินออกจากบ้านก็สามารถหาเงินได้แล้ว แต่ตั๋วมีเพียง 5 ใบเท่านั้น คนโง่จึงจะยอมแลก” ชาร์ลีจึงตัดสินใจไป

เรียกได้ว่านี่ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้เลย เนื่องจากประตูนั้นไม่ได้มีการเปิดออกมา 15 ปี ได้เปิดขึ้น เพื่อต้อนรับเด็กทั้ง 5 คน พร้อมผู้ปกครองที่ก้าวเดินเข้าไปอย่างตื่นเต้น วิลลีเจ้าของโรงงานนำทุกคนเข้าไปสู่ดินแดน มหัศจรรย์ดั่งเทพนิยาย สภาพในโรงงานเป็นป่าที่มีทุ่งหญ้าเขียวขจี 

ต้นไม้ออกผลเป็นลูกกวาดหลากสีสัน มีน้ำตกที่เป็นช็อกโกแลตไหลเรื่อยลงมายังลำธารช็อกโกแลต และทุกคนก็ได้พบความลับสุดยอดของโรงงานนี้คือ ‘อูมปา ลูมป้าส์’ ชาวป่าตัวเล็กๆนับพันที่สนุกสนานไปกับการผลิตช็อกโกแลต

บอกได้เลยว่าหลังจากที่ได้เข้าไปยังโรงงานนั้น ก็ได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยเชื่อมาก่อน ก็ยิ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจ ให้กับผู้ที่มาเยือนทุกคน ในขณะเดียวกันเด็กแต่ละคน ที่มีนิสัยไม่ดีก็จะได้รับบทเรียน และต้องออกจากโรงงานไปทีละคน เหลือเพียงชาร์ลีซึ่งมีกิริยามารยาทเรียบร้อยกว่าทุกคน ในที่สุดวิลลีได้บอกว่าชาร์ลีคือ ผู้ชนะ และรางวัลที่ได้รับคือการเป็นเจ้าของโรงงานช็อกโกแลตแห่งนี้สืบต่อจากวิลลี

หลังจากที่ดีใจที่วิลลี่จะยกโรงงานให้ ชาร์ลีก็ได้ถามว่าจะนำครอบครัวของเขามาอยู่ด้วย แต่กลับถูกวิลลีปฏิเสธว่า “คุณไม่อาจดูแลโรงงานช็อกโกแลตได้ โดยมีภาระต้องดูแลญาติแก่ๆ เพราะเจ้าของโรงงานจะต้องทำตามความฝันของเขา โดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์”

หลังจากนนั้นเองชาร์ลีก็ได้พูดต่อว่า “ผมไม่ยอมแลกครอบครัวผมกับอะไรทั้งนั้น แม้แต่ช็อกโกแลตทั้งโลกก็ตาม” แล้วชาร์ลีก็จบความฝันของเขา และกลับไปอยู่กับครอบครัวด้วยความอบอุ่น แต่คำพูดของชาร์ลีได้ไปกระตุ้นความรู้สึกลึกๆบางอย่างของวิลลี อันเป็นผลลัพธ์ที่เขาไม่ได้คำนึงถึง แต่ได้มาพร้อมกับโรงงานช็อกโกแลต และฝังอยู่ในใจเรื่อยมา

หลังจากนั้นวิลลี่ก็ได้พบกับ ปัญหาของรสชาติของขนมหวานนั้น ไม่อร่อยเลย ซึ่งบอกว่า “ผมทำขนมด้วยความรู้สึก แต่ตอนนี้ผมรู้สึกแย่มากเลยทำให้ขนมแย่ไปด้วย ผลก็คือช็อกโกแลตขายไม่ดี” พร้อมกับถาม ชาร์ลีว่าอะไรที่ทำให้ชาร์ลีมีความรู้สึกที่ดีขึ้น เด็กน้อยตอบทันทีโดยไม่ต้องคิดว่า “ครอบครัวของผม”

บอกเลยว่าถึงแม้ฐานะครอบครัวของชาร์ลีนั้น แม้จะยากจน แต่ทั้งปู่ย่าตายายและพ่อแม่ รวมทั้งชาร์ลีเด็กชายตัวน้อย ก็มีความสุข เมื่อได้นั่งกินอาหารพร้อมหน้า พูดคุยเรื่องราวต่างๆ ท่าม กลางบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรัก

เรียกได้ว่าต่างกับวิลลี่ โดยสิ้นเชิงเลย ซึ่งมีชีวิตในวัยเด็กที่ขาดความอบอุ่น เนื่องจากมีพ่อเป็นหมอฟัน จึงบังคับไม่ให้เขากินของหวานโดยเฉพาะช็อกโกแลตที่จะทำให้ฟันผุ เขาจึงกลายเป็นเด็กเก็บกด แม้จะถูกห้ามกินช็อกโกแลต แต่ด้วยความหลงใหล ในรสชาติที่หวานมันอร่อย 

เขาจึงแอบกินและหาประสบการณ์ใหม่ๆ จากช็อกโกแลตแท่งใหม่ๆเสมอ จนในที่สุดเขาก็ออกจากบ้านเพื่อไปตามหาฝันของตัวเอง ที่อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านช็อกโกแลต และจากวันนั้นเป็นต้นมา เขาก็ไม่เคยพบหน้าพ่ออีกเลย

และสุดช่วงท้ายของเรื่องนั้น ชาร์ลีก็ได้ชักชวนให้วิลลี่ไปที่บ้านเก่า ณ ที่นั่นพ่อของเขายังคงเป็นหมอฟันที่รอคอยการกลับมาของลูกชาย ในอ้อมกอดของพ่อนั้น วิลลีรู้สึกอบอุ่นอย่างประหลาด เพราะเขาไม่เคยได้รับสัมผัสเช่นนี้มาก่อน ส่วนชาร์ลีผู้ที่มีจิตใจดีงามก็ได้เป็นเจ้าของโรงงานช็อกโกแลตวองก้า ขณะที่วิลลีได้รับสิ่งที่วิเศษกว่านั้น นั่นคือความรักความอบอุ่นในครอบครัว ที่หวานหอมยิ่งกว่าช็อกโกแลตวองก้า

ความสุขในครอบครัว มิใช่ขึ้นอยู่กับการมีีเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียงใดๆ แต่ความสุขที่แท้จริงนั้นคือความรักความอบอุ่น ความห่วงใยเอื้ออาทร ความปรารถนาดี และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีให้แก่กัน

Last Update : 19 กรกฎาคม 2020 (ข้อมูลล่าสุดปี 2020)